เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับขิง
ขิง (Ginger) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Zingiber officinale Roscoe ขิงมีสรรพคุณเป็นยา ทั้งในตำรับยาไทย จีน และแพทย์อายุรเวท โดยเหง้าของขิงแก่ มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ท้องผูก เหงือกอักเสบ แก้ไอขับเสมหะ บรรเทาข้ออักเสบ รักษาอาการปวดศีรษะรวมทั้งช่วยกระตุ้นการอยากอาหาร
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับขิง
ขิง (Ginger)เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Zingiber officinale Roscoe ขิงมีสรรพคุณเป็นยา ทั้งในตำรับยาไทย จีน และแพทย์อายุรเวท โดยเหง้าของขิงแก่ มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ท้องผูก เหงือกอักเสบ แก้ไอขับเสมหะ บรรเทาข้ออักเสบ รักษาอาการปวดศีรษะรวมทั้งช่วยกระตุ้นการอยากอาหาร (อ้างอิงที่ 1)
รายงานผลการศึกษาทางคลินิกของขิง มีหลายการศึกษาที่สนับสนุนการรักษา และป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะยาวอย่างปลอดภัย ดังต่อไปนี้
ลดอาการปวดและอักเสบในผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และลด
การปวดกล้ามเนื้อ
มีงานวิจัยที่ทำในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 261 คน โดยให้รับประทานสารสกัดจากขิง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากขิงมีอาการปวดลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 2)
อีกงานวิจัย ทำการศึกษาในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ (Gonarthritis) 29ราย โดยได้รับสารสกัดจากขิง (เทียบเท่ากับเหง้าขิง 250มิลลิกรัม) วันละ 4ครั้ง เป็นระยะเวลา 6เดือน พบว่าสารสกัดจากสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 3)
ยังมีการศึกษาในผู้ป่วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) จำนวน 28คน และ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)จำนวน 18คน พบว่า 3ใน 4ของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมทั้ง2 ชนิด มีอาการปวดข้อลดลง และพบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Muscular discomfort)จำนวน 10คน ทั้งหมดมีอาการปวดลดลง (อ้างอิงที่ 4)
มีการทดลองแบบ double-blind randomized placebo-controlled clinical trialในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่มีอาการปวดระดับปานกลาง จำนวน 120คน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่รับประทานแคปซูลผงขิง จำนวน 2แคปซูล ต่อวัน (500มิลลิกรัมต่อแคปซูล หรือ 1กรัมต่อวัน) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ผงแป้งในขนาดเดียวกัน) เป็นระยะเวลา 3เดือน พบว่า ระดับตัวชี้วัดภาวะการอักเสบได้แก่ nitric oxide (NO) และ hs-C reactive protein (hs-CRP) ในเลือด ของผู้ป่วยที่ได้รับแคปซูลผงขิงลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจให้ผงขิงเสริมในผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้ (อ้างอิงที่ 5)
ลดอาการปวดประจำเดือนได้ไม่แตกต่างจากยาต้านการอักเสบที่นิยมใช้กันทั่วไป
และช่วยลดการสูญเสียเลือดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมามาก
มีงานวิจัยเปรียบเทียบผลการลดอาการปวดประจำเดือนของผงขิงกับยาต้านการอักเสบที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ Mefenamic acid และ Ibuprofen พบว่า กลุ่มที่ได้รับผงขิง 250 มิลลิกรัมต่อแคปซูล 4 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 วันก่อนถึงรอบเดือน มีอาการปวดประจำเดือนลดลงไม่ต่างจากกลุ่มที่ได้รับยา (อ้างอิงที่ 6)
และการศึกษาการลดการสูญเสียเลือดประจำเดือน ในวัยรุ่นผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมามาก อายุระหว่าง 15-18ปี จำนวน 90คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงขิง ขนาด 250มก. วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4วัน (เริ่มจากวันก่อนที่จะมีประจำเดือนจนถึงวันที่ 3ของการมีประจำเดือน) มีการสูญเสียเลือดประจำเดือนลดลง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (อ้างอิงที่ 7)
ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
และจากการเมารถเมาเรือ
มีการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์) จำนวน 120คน พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากขิงขนาด 125มิลลิกรัม วันละ 4ครั้ง เป็นเวลา 4วัน มีอาการคลื่นไส้น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในการศึกษาเดียวกันนี้ มีการติดตามเรื่องความปลอดภัยของทารกในครรภ์ พบว่า ความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ของมารดาที่รับประทานสารสกัดจากขิง เทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป ไม่มีความแตกต่างกัน (อ้างอิงที่ 8)
มีรายงานว่าการใช้ขิงในขนาดอย่างน้อย 1กรัม มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังการผ่าตัดได้ดีกว่ายาหลอก (อ้างอิงที่ 9)และพบว่าการให้ขิงร่วมกับยา Prochlorperazine .oผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดจำนวน 20ราย สามารถลดความรุนแรง และระยะเวลาในการคลื่นไส้ได้ (อ้างอิงที่ 1)และขิงยังมีฤทธิ์แก้คลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือได้ด้วย (อ้างอิงที่ 10)
ลดระดับไขมันในเลือด
มีการศึกษาแบบ double blind controlled clinical trial พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลขิง 1กรัม วันละ 3ครั้ง เป็นเวลา 4BrL51JCc9NGQ71kWhnYoDRffsDZy7m1HUU7MRU4nUMXAHNFBEJhkTZV9HdaL4gfuNBxLPc3BeMkLGaPbF5vWtANQkg9g6FAkGz2VaFpW2ญกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานขิง(อ้างอิงที่ 11)
ช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน
การศึกษาแบบ double blind randomized clinical trial เปรียบเทียบการใช้ขิงกับยา sumatriptan (ยารักษาอาการไมเกรน) ในผู้ป่วย จำนวน 100คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลขิง 250มก. 1แคปซูล และกลุ่มที่ได้รับยา sumatriptan 50มก. 1แคปซูล ทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะ พบว่าความรุนแรงของอาการปวดลดลงในทั้ง 2 กลุ่ม หลังจากได้รับยา 2 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของขิง และยา sumatriptan ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อาการไม่พึงประสงค์ของขิงจะน้อยกว่า (อ้างอิงที่ 12)
ช่วยเรื่องอาหารไม่ย่อย
มีงานวิจัยให้ขิงบรรจุแคปซูล ปริมาณ 1.2 กรัมกับคนไข้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย พบว่า ขิงช่วยกระตุ้นให้การย่อยอาหารดีขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 13)
ข้อควรระวัง :
ระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets) เนื่องจากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และทำให้เลือดไหลหยุดยาก (อ้างอิงที่ 1, 14)
ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ (อ้างอิงที่ 1, 15, 16)
ไม่แนะนำให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี (อ้างอิงที่ 1)
เอกสารอ้างอิง
ประสิทธิภาพของสมุนไพรขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน, สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Effects of a ginger extract on knee pain in patients with osteoarthritis. Arthritis Rheum. 2001 Nov;44(11):2531-8
The effects of Zintona EC (a ginger extract) on symptomatic gonarthritis. Osteoarthritis Cartilage. 2003 Nov;11(11):783-9
Ginger (Zingiber officinale) in rheumatism and musculoskeletal disorders. Med Hypotheses. 1992 Dec;39(4):342-8
Effect of ginger powder supplementation on nitric oxide and C-reactive protein in elderly knee osteoarthritis patients: A 12-week double-blind randomized placebo-controlled clinical trial. J Tradit Complement Med. 2015 Jan 28;6(3):199-203
Comparison of effects of ginger, mefenamic acid, and ibuprofen on pain in women with primary dysmenorrhea.J Altern Complement Med. 2009 Feb;15(2):129-32
Effect of ginger (Zingiber officinale) on heavy menstrual bleeding: a placebo-controlled, randomized clinical trial.Phytother Res. 2015 Jan;29(1):114-9
Effect of a ginger extract on pregnancy-induced nausea: a randomised controlled trial. Aust N Z J Obstet Gynaecol. 2003 Apr;43(2):139-44
The efficacy of ginger for the prevention of postoperative nausea and vomiting: a meta-analysis. Am J Obstet Gynecol. 2006 Jan;194(1):95-9
ขิง. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=39
Investigation of the effect of ginger on the lipid levels. A double blind controlled clinical trial. Saudi Med J. 2008 Sep;29(9):1280-4
Comparison between the efficacy of ginger and sumatriptan in the ablative treatment of the common migraine. Phytother Res. 2014 Mar;28(3):412-5
Effect of ginger on gastric motility and symptoms of functional dyspepsia. World J Gastroenterol. 2011 Jan 7; 17(1): 105–110
The Effect of Ginger (Zingiber officinale) on Platelet Aggregation: A Systematic Literature Review. PLoS One. 2015; 10(10): e0141119
Zingiber officinale (Ginger) Monograph. http://archive.foundationalmedicinereview.com/publications/8/3/331.pdf
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 294) พ.ศ.2548 เรื่อง รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี