เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับขิง

ขิง (Ginger) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Zingier officinale Rosc. (อ้างอิงที่ 1) เป็นทั้งพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ มีสรรพคุณด้านการรักษาโรคได้ เช่น รักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน รักษาอาการไอที่มีเสมหะ

     ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะ คล้ายมือหรือที่เรียกว่า “เหง้า” เปลือก เหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอม เขียว ถูกจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับข่า ขมิ้น กระวาน ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอมยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ขิงเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในเขตร้อน แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ อินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีนรองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิจิ ไต้หวัน และไทย (อ้างอิงที่ 2)

ขิงมีคุณสมบัติ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หอบ ไอ และขับเสมหะ ซึ่งสาระสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ โดยวิธีนำมาทำยารับประทานนั้น สามารถใช้ขิงแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุก เสียด แน่นเฟ้อ ส่วนขิงสดช่วยย่อยอาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารมากจนเกินไป หรือมีอาการเมารถ โดยวิธีทำยารับประทาน ให้นำขิงสดมาทุบให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำมะนาวครึ่งช้อนโต๊ะ และเกลือประมาณหยิบมือดื่มทันทีจะช่วยลดแก๊ส แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ หรือจะจิบแก้ไอ ขับเสมหะก็ได้ นอกจากนี้การดื่มน้ำขิงร้อนๆ ยังช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้ดีอีกด้วย (อ้างอิงที่ 1.3)

มีงานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประโยชน์ของขิงในด้านการช่วย เรื่องอาหารไม่ย่อย โดยทำการวิจัยให้ขิงบรรจุแคปซูลปริมาณ 1.2 การย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 4)

ประโยชน์อีกด้านของขิงคือช่วยลดอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนใน กลุ่มสตรีมีครรภ์ โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่า การให้ขิงบรรจุแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม แก่กลุ่มสตรีมีครรภ์เป็นระยะเวลา 4 วัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับขิงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 5) สำหรับประเทศไทยนั้นยังมีการประยุกต์การใช้ขิงสำหรับเป็นอาหารเพื่อช่วยขับน้ำนมแม่ด้วย โดยศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยได้จัดขิงเป็นหนึ่งในอาหารสมุนไพร และยาเพิ่มน้ำนม (อ้างอิงที่ 6)

นอกเหนือไปจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีงานวิจัยในประโยชน์ด้านอื่นของขิงอีก ในเรื่องของการช่วยลดโคเลสเตอรอล โดยทำการวิจัยให้ขิงบรรจุแคปซูลกับกลุ่มคนไข้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง วันละ 3 กรัม โดยแบ่งให้ 3 เวลา เป็นระยะเวลา 45 วัน พบว่าระดับค่าเฉลี่ยของไตรกลีเซอไรด์, โคเลสเตอรอล, แอลดีแอล โคเลสเตอรอล ลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานขิง (อ้างอิงที่7)

ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มขิงผงสำเร็จรูปซึ่งเป็นเครื่อง ดื่มชนิดผงที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกมากขึ้น เพราะเตรียมได้ง่าย เพียงเติมน้ำร้อนก็สามารถอร่อยกับรสชาติที่กลมกล่อม มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของขิงได้ทันที ให้ความสดชื่น คลายความเครียดจากการทำงาน รับประทานได้ทุกโอกาส ระหว่างวัน นอกจากนี้ยังสามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่

 

เอกสารอ้างอิง

1. ขิง, สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/MPRI/Q_zinglber.shtm

2. ขิง (Ginger), คลังปัญญาไทย,

http://www.panyathai.or.th/wili/lndex.php/%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%87

3. ดื่มน้ำขิงมีประโยชน์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/15153

4. Effect of ginger on gastric motility and symptoms of functional dyspepsia, World J Gastroenterol. 2011 Jan 7;17(1):105-10

5. Effects of ginger capsules on pregnancy, nausea, and vomiting, J Altern Complement Med. 2009 Mar; 15(3):243-6

6. อาหาร สมุนไพร และยาเพิ่มน้ำนม, ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย,

http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/183/94/

7. Investigation of the effect of ginger on the lipid levels. A double blind controlled clinical trial, Saudi Med J. 2008Sep;29(9):1280-4

คุยกับเรา